วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (3)


     เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็น ลำดับ ทั้งในส่วนของการจำหน่ายไปยังกลุ่มผู้ใช้ในประเทศและส่งออกโดยมีรายละเอียด ดังนี้

     กลุ่มผู้ใช้ในประเทศ เนื่องจากกากน้ำตาลประกอบไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆหลายชนิด ส่งผลให้กากน้ำตาลถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตสุราและแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ผลิตผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น รวมการใช้กากน้ำตาลประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้จะใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสุราเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนำกากน้ำตาลมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลเพื่อใช้ ผสมกับน้ำมันเบนซินใช้เป็นพลังงานทดแทนที่เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ จำนวน 4 โรงงานรวมกำลังการผลิตเอทานอลประมาณ 460,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งกากน้ำตาล 1 ตันสามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 260 ลิตร ทำให้ความต้องการกากน้ำตาลของโรงงานเอทานอลอยู่ที่ประมาณ 530,000 ตันต่อปี(คิดจากวันผลิต 300 วัน) รวมเป็นปริมาณการใช้กากน้ำตาลในประเทศประมาณ 1.53 ล้านตัน

     กลุ่มผู้ใช้ต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศต่างๆมีความต้องการกากน้ำตาลเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสุรา อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ รวมทั้งนำไปผลิตเป็นเอทานอลเช่นเดียวกับไทย และเนื่องจากไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายสำคัญของโลก ส่งผลให้ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากบราซิล และออสเตรเลีย

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (2)

กากน้ำตาล(MOLASSES) เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลดังนั้นปริมาณการผลิตกากน้ำตาลของไทยจึงขึ้น อยู่กับปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปี โดยอ้อย 1 ตันจะได้ปริมาณกากน้ำตาลประมาณ 46.8 กิโลกรัม ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/43 ถึงฤดูการผลิตปี 2546/47 ไทยมีปริมาณการผลิตกากน้ำตาลอยู่ที่ระดับเฉลี่ยประมาณปีละ 2.8 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม สำหรับในฤดูการผลิต 2547/48 นี้เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทั่วประเทศทำให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดลงเหลือเพียง 47.8 ล้านตันลดลงร้อยละ 25.8 และส่งผลต่อเนื่องไปถึงปริมาณกากน้ำตาลที่ผลิตได้ในปีนี้มีเพียง 2.26 ล้านตันลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (1)

ปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆประมาณ 1 ล้านตันแล้ว ในขณะเดียวกันไทยยังถือเป็นประเทศผู้ส่งออกกากน้ำตาลรายใหญ่อันดับหนึ่งของ โลกโดยมีการส่งออกกากน้ำตาลไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละประมาณ 1.4-1.5 ล้านตันคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อปีกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

     นอกจากนี้ ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ ในด้านการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นพลังงานทางเลือกที่ เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ซึ่งมีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน95 ถึง ลิตรละ 1.50 บาท อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้อีกด้วย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.53 ล้านตันต่อปี ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะห้ามการส่งออกกากน้ำตาล เพื่อสงวนไว้ใช้ในประเทศภายหลังจากที่ผู้ผลิตเอทานอลเรียกร้องขอปรับราคาเอ ทานอลที่จำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันให้สอดคล้องกับราคากากน้ำตาลที่ปรับตัว สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลมีความเห็นว่าหากควบคุมการส่งออกจะทำให้ ราคากากน้ำตาลปรับตัวลดลงและส่งผลกระทบต่อรายได้ของระบบอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งยังมีภาระหนี้เงินกู้ระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกับสถาบันการเงิน ถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้ประโยชน์ไฮเทสต์โมลาส


ไฮเทสต์โมลาสมีการใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับกากน้ำตาล (black–strap molasses) แต่มีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่า (ปริมาณน้ำตาลร้อยละ 95) และปริมาณเถ้ามีน้อยกว่าจึงสามารถนำไปใช้งานได้กว้างกว่า กล่าวคือ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลักเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ นานาชนิด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ บิวทิลแอลกอฮอล์ ยีสต์ น้ำส้มสายชู กรดอะมิโน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ไฮเทสต์โมลาสจากอ้อย


ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องอ้อยและน้ำตาลมานานแล้ว โดยที่รัฐบาลได้พยายามแก้ไขด้วยการใช้มาตรการต่างๆ หลายอย่าง เช่น การแบ่งปันผล ประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล การขยายปริมาณการส่งออก เป็นต้น ซึ่งในภาวะที่เกิดน้ำตาลล้นตลาดโลก การนำอ้อยส่วนที่เหลือ เกินความต้องการในการผลิตน้ำตาลไปผลิตเป็นไฮเทสต์โมลาส (high test molasses) จะเป็นทางออกทางหนึ่งในการแก้ปัญหา 

ไฮเทสต์โมลาสมีลักษณะเป็นน้ำเชื่อมเข้มข้นที่ผ่านการแปรสภาพด้วยกรดหรือเอนไซม์แล้ว มีสีน้ำตาล และมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลรวม 76.06% เถ้า 2.85% และน้ำ 15.09% 

จาก ดร. ธีรภัทร ศรีนรคุตร 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือโมลาส



น้ำ
ซูโครส
ริดิวซิงชูการ์
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ
เถ้าซัลเฟต
ยางและแป้ง
ขี้ผึ้ง
20.65
36.66
13.00
50.10
15.00
3.43
0.38
ไนโตรเจน
ซิลิกาในรูป SiO2
ฟอสเฟต P2O5
โปแตสเซี่ยม K2O
แคลเซียม CaO
แมกนีเซียม MgO
0.95
0.46
0.12
4.19
1.35
1.12

การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล


การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล
นำเอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน

ขยายต่อได้ทุก 2 เดือน
จะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วย
เอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่
มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน
ฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมาย
ดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วย
ตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน
น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 3 เดือน
จึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้
ยังมีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัญหาของกากน้ำตาล


ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา กับดิน
หรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาลกับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกัน
หากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน
เอนไซม์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำมะพร้าว 1 ส่วน + เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

เป็นเวลา 3-6 เดือน
เพื่อสลายปูนขาวที่ติดมากับกากน้ำตาล ซึ่งเป็นตัวทำให้ดินแข็งกระด้าง เกิดการอุดตันของชั้นดิน และชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเชื้อราดำที่ราก ของพืช เกิดรากเน่า
กากน้ำตาลจะสลายได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่ที่ความเปรี้ยวของการหมัก การที่เราใส่น้ำมะพร้าวลงไป เพราะเป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็น อาหารของยีสต์
ส่วนเปลือกสับปะรด จะมีจุลินทรีย์ที่ตาสับปะรดจำนวนมากกว่าผลไม้อื่น เมื่อนำมาใช้ในการหมักจะทำให้เกิดน้ำส้มสายชูได้เร็ว จึงช่วยใน การสลายกากน้ำตาลได้เร็วยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล (ต่อ 5)



การผลิตเหล้ารัมมีขบวนการคล้ายกับการผลิตแอลกอฮอล์มาก เพียงแต่ว่ากากน้ำตาลที่นำมาผลิตแอลกอฮอล์นั้น ไม่มีการทำให้สะอาดเสียก่อน และยีสต์ที่ใช้ใส่ลงไปก็ไม่บริสุทธิ์ ยีสต์ที่ใช้ก็คือ Saccha-romyces cerevisiae ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสเตรน (Strain) และมักจะมีอยู่แล้วในน้ำอ้อยหรือติดอยู่ตามถังหมัก กากน้ำตาล 2 ถึง 3 แกลลอนจะ ผลิตปรูฟรัม (proofrum) ได้ 1 แกลลอน การเปลี่ยนแปลง น้ำตาลจะเกิดขึ้นสมบูรณ์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์และจาก ปรูฟรัมนี้ จะกลั่นแอลกอฮอล์ได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์


จนกระทั่งประมาณ ปี 1950 การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตรัม ยังมีอยู่น้อยมาก ดังนั้น ประสิทธิภาพจึงต่ำ ผู้ผลิตก็ไม่ ติดใจที่จะปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้น เพราะวัตถุดิบมีต้นทุนต่ำ ต่อมาจึงได้มีความต้องการเหล้ารัมชนิด “เบา” มากขึ้น จึงมีการไหว ตัวตามตลาด โดยปรับปรุงการทำให้กากน้ำตาลบริสุทธิ์มากขึ้น การคัดพันธุ์ยีสต์ที่ใช้ เหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล (ต่อ 4)

เมื่อกลั่นออกมาใหม่ ๆ เหล้ารัมจะมีความแรง 40 ถึง 60 ดีกรี ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเฉพาะตัวเหมือนเหล้ารัม เมื่อจะส่งสู่ตลาดจึง ผสมคาราเมลลงไปเพื่อทำให้มีสีน่าดื่ม ผู้ผลิตจะเก็บรัมไว้เพื่อให้ได้อายุ และผสมกลิ่นสีให้ถูกใจผู้ซื้อเมื่อได้อายุตามที่ต้องการ

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล (ต่อ 3)

หล้ารัมที่ผลิตจากหมู่เกาะเวสต์อินดิส มักจะมีลักษณะเฉพาะตัว มีกลิ่นและรสชาติพิเศษ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะ เหล้าเหล่านี้ ถูกหมักในถังหมัก ที่ไม่มีการถ่ายเท (pot stills) ทำให้สารบางชนิดที่ประกอบอยู่ในน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาลถูก เชื้อยีสต์เข้าย่อยจนครบถ้วนขบวนการทำให้ได้สารเอสเทอร์ของเอธิลและบิวธิล อาซีเตท ซึ่งเรียกเป็นภาษาตลาดว่า “อีเทอร์” ในเหล้ารัมที่จัดว่าเป็นพวก “หนัก” จะมีอีเทอร์มากกว่ารัมที่เป็นพวก “เบา” ในเหล้ารัมเราจะพบกรดอินทรีย์ อัลดีไฮด์ (โดย เฉพาะอาซีตัลดีไฮด์) น้ำมันฟูเซล (fusel oil) และเฟอฟิวราลเหล้ารัมจากจาไมกามีกลิ่นหอมพิเศษ เนื่องมาจากสารประกอบ ในน้ำอ้อยบางชนิดถูกสร้างขึ้นโดยบักเตรีชนิดอาซีติค, แลกติก และบิวทีริค ในอดีตคอเหล้ารัมนิยมเหล้ารัม ชนิดหนักมาก กว่าแต่เนื่องจากมันมีกลิ่นติดริมฝีปากอยู่นาน ปัจจุบันคนจึงไม่ค่อยนิยมหันมานิยมชนิด “เบา” มากกว่าซึ่งชนิด “เบา” นี้ใช้ หมักและกลั่นในถังแบบคอลัมน์ และมีลักษณะคล้ายวิสกี้และยินมากกว่าถังหมักชนิดถ่ายเทได้ (continuous stills) ทำให้ สามารถแยกกลิ่นที่ไม่ต้องการออกไปได้ทำให้เหล้ารัมในปัจจุบันนี้มีกลิ่นและรสชาติไม่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล (ต่อ 2)

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล



ลักษณะการผลิตเหล้ารัมในอดีตนั้น อาศัยความชำนาญของผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ หรือเคมีเข้าไปช่วยแต่อย่างใด ความสามารถส่วนตัวของผู้ผลิตก็ไม่เคยเผยแพร่ให้ผู้ใดรู้นอกจากลูกหลานผู้สืบสกุลเท่านั้น แม้แต่ลูกจ้างแรงงานที่เข้ามารับจ้างทำงานถือเสมือนว่ามาขอรับการถ่ายทอดวิชาจากผู้ผลิต จึงได้รับค่าจ้างแต่เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เท่านั้น เล่ากันว่าผู้ผลิตเหล้ารัมบางยี่ห้อเมื่อหมักเหล้าได้ที่แล้ว ต้องการหยุดปฏิกริยาของเชื้อยีสต์ก็จะโยนเนื้อ สักก้อนหนึ่ง หรือซากสัตว์ตายสักตัวหนึ่งลงไปในถังหมักเพื่อให้ได้รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของเหล้ารัมยี่ห้อนั้น ๆ ดังนั้นเหล้ารัมแต่ละยี่ห้อจึงมีรสชาติเฉพาะตัว ไม่มีการเลียนแบบกันได้ บางเจ้าของก็มักจะอ้างว่าที่เหล้ารัมของเขา มีรสชาติ อร่อยก็เพราะเนื้อดินที่ปลูกอ้อยเอามาทำรัมนั้น ไม่เหมือนใครผู้ผลิตเหล้ารัมแต่ละเจ้าของก็พยายามรักษา คุณสมบัติรสชาติ เหล้ารัมของตนเองไว้ จวบจนถึงยุคน้ำตาลซบเซาเจ้าของที่ดินรายย่อยจำเป็นต้องมารวมกันเพื่อสร้างโรงงานน้ำตาลกลางขึ้น จึงทำให้เจ้าของที่ดินรายย่อยหลายเจ้าของมารวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว แต่มีเหล้ารัมหลายยี่ห้อทั้งนี้ เพราะผู้ผลิตเหล้ารัม แต่ละเจ้าของต่างก็พยายามรักษาสูตรของตัวไว้เป็นความลับถึงแม้เหตุการณ์ผ่านมานานเป็นศตวรรษ แต่เหล้ารัมยี่ห้อเก่าก็ ยังคงรักษารสชาติและกลิ่นของตัวเองตลอดมา

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เหล้ารัม ผลผลิตที่ได้จากกากน้ำตาล

เหล้ารัม

น้ำเหล้าที่ได้จากการกลั่นเมรัยของน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาล เราเรียกว่า เหล้ารัม เหล้ารัมดูเหมือนจะเป็น เครื่องหมายการค้าของอุตสาหกรรมน้ำตาลในแถบทะเลแคริบเบียน ในสมัยโบราณมนุษย์รู้ว่าน้ำอ้อยถ้าเอาไปหมักจะทำให้ได้ เมรัยชนิดหนึ่ง แต่กำเนิดของเหล้ารัมนั้นเพิ่งจะเริ่มเอาเมื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลรุ่งเรืองขึ้นมา ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสในคริตส์ ศตวรรษที่ 17 นี่เองในสมัยที่น้ำตาลจากอ้อยพ่ายแพ้น้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน บรรดาโรงงานน้ำตาลสามารถดำรงอยู่ได้ก็ โดยการผลิตเหล้ารัมออกมาจำหน่าย ดังจะเห็นได้ว่าด้านหนึ่งของโรงงานน้ำตาลมักจะมีถังหมักเหล้า โรงกลั่น และโรงเก็บเหล้า อยู่ใกล้ ๆ จนแทบจะเรียกได้เป็นสัญญลักษณ์ของโรงน้ำตาลเลยทีเดียว

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของกากน้ำตาล (จบ)

ประโยชน์ของกากน้ำตาล (จบ)

ประโยชน์สุดท้ายของกากน้ำตาลก็คือ การใช้ทำปุ๋ยหรือปรับคุณภาพดิน กากน้ำตาลมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม อินทรีย์วัตถุ และธาตุรองอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับปรับสภาพดินทราย หรือดินเลวที่ไม่มีการเกาะตัว เนื่องจากขาดอินทรีย์วัตถุอีกด้วย ประโยชน์สุดท้ายใช้ผสมกับชานอ้อยสำหรับทำถ่านใช้ในครัวเรือน

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของกากน้ำตาล (ต่อ 4)

ประโยชน์ของกากน้ำตาล (ต่อ 4)

ส่วนประกอบสำคัญของน้ำอ้อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ กรดอโคนิติค ซึ่งจะผสมรวมอยู่ในกากน้ำตาล ซึ่งเราสามารถแยก ได้โดยการตกตะกอนด้วยเกลือแคลเซียม กรดอโคนิติคนี้มีความสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ พลาสติก เรซิน และสารชักเงา

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของกากน้ำตาล(ต่อ 3)

ประโยชน์ของกากน้ำตาล(ต่อ 3)



มีผู้วิจัยทดลองใส่แอมโมเนียลงในกากน้ำตาล พบว่า สามารถผลิตโปรตีนได้และสัตว์สามารถกินกากน้ำตาล นี้เข้าไปและทำให้สร้างโปรตีนขึ้นในร่างกายสัตว์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประหลาดที่กากน้ำตาลเป็นสารคาร์โบไฮเดรต สามารถถูกสัตว์ เปลี่ยนไปเป็นโปรตีน ได้ผลดี

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของกากน้ำตาล(ต่อ 2)

ประโยชน์ของกากน้ำตาล(ต่อ 2)

ในอดีตชาวปศุสัตว์ ใช้กากน้ำตาลผสมลงในอาหารสัตว์ แต่ก็มีขีดจำกัด กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งไม่ควรรับกากน้ำตาล เข้าไปเกิน 1.5 ปอนด์ สัตว์ชอบกินกากน้ำตาลคลุกกับหญ้าเพราะช่วยทำให้รสชาติดี รวมทั้งการใส่กากน้ำตาลในไซเลจ (silage) อีกด้วย

พืชหมักหรือหญ้าหมัก (Silage) หมายถึงพืชอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้า และถั่วต่างๆ ที่เก็บเกี่ยวในขณะที่มีความชื้นพอเหมาะ แล้วนำมาหมักเก็บไว้ในสภาพไร้อากาศ (Anaerobic condition) คือเก็บถนอมไว้ในสภาพหมักดอง เมื่อพืชอาหารสัตว์เหล่านี้ได้เปลี่ยนสภาพเป็นพืชหมักแล้ว จะสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานโดยคุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง


วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของกากน้ำตาล

ประโยชน์ของกากน้ำตาล


อุตสาหกรรมการผลิตเหล้าและแอลกอฮอล์ เป็นแหล่งใหญ่ที่ต้องการกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ สำคัญในอุตสาหกรรม ผลิตน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ผลผลิตที่ได้จากการหมักกากน้ำตาลได้แก่ เอทิลแอลกอฮอล์ บิวธิลแอลกอฮอล์ อาซีโตน กรดซิตริก กลีเซอรอล (glycerol) และ ยีสต์ เอทิลแอลกอฮอล์ใช้ทำกรด อาซีติค เอธีลอีเธอร์ ฯลฯ สารประกอบอื่นที่ ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอธิลอาซีเตท บิวธิลอา-ซีเตท อามีลอาซีเตท น้ำส้มสายชู และคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ในอดีตชาวเกาะเวสต์อินดีส ผลิตเหล้ารัมจากกากน้ำตาล นอกจากนั้นถ้านำกากน้ำตาลที่ทำให้ บริสุทธิ์ไปหมักและกลั่นจะได้ เหล้ายิน (gin) ส่าเหล้าหรือยีสต์ที่ตายแล้ว เป็นผลพลอยได้ซึ่งนำไปทำอาหารสัตว์ นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้ทำยีสต์สำ หรับทำขนมปังและเหล้าได้ด้วย ยีสต์บางชนิดที่ให้โปรตีนสูงคือ Torulopsis utilis ก็สามารถเลี้ยงขึ้นมาได้จาก กากน้ำตาล กากน้ำตาลสามารถนำมาทำกรดเป็นแลคติคได้ แม้ว่าจะทำได้น้อยมาก

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กากน้ำตาลแบ่งออกได้ 3 ชนิด

กากน้ำตาลแบ่งออกได้ 3 ชนิด

 1. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาว (plantation white sugar) ซึ่งเราเรียกว่า black–strap molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 50–60%

2. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (refine sugar) ซึ่งเราเรียกว่า refinery molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 48%

3. กากน้ำตาลที่ได้จากการทำบางส่วนของน้ำอ้อยแปรสภาพให้เข้มข้นโดยการระเหย (inverted can juice) ซึ่งเราเรียกว่า invert molasses หรือ hightest molasses วิธีนี้เป็นการผลิตกากน้ำตาลโดยตรง

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อะไรคือกากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses) เป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นเหนียวสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยนั้น เริ่มจากการนำอ้อยเข้าหีบได้น้ำอ้อย กรองเอากากออกจากน้ำอ้อยแล้วเคี่ยว น้ำอ้อยจนได้ผลึกของน้ำตาลทรายตกตะกอนออกมา แยกผลึกน้ำตาลทรายด้วยหม้อปั่น (centrifuge) ผลพลอยได้ที่สำคัญจาก การผลิตน้ำตาลทรายด้วยวิธีนี้ได้แก่ กากน้ำตาล (molasses) ขี้ตะกอน (filter cake) และกากอ้อย (bagasses)


กากน้ำตาลเป็นผลพลอยได้ที่มีคุณค่ามากที่สุด เป็นส่วนของของเหลวที่เหลือหลังจากการแยกเอาผลึกของน้ำตาลออกแล้วมีลักษณะ

เหนียวข้น สีน้ำตาลเข้ม องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลซูโครสที่ไม่ตกผลึก ในการผลิตน้ำตาลทรายนั้นจะมีกากน้ำตาลซึ่งเป็น ผลพลอยได้เกิดขึ้นประมาณ 4 ถึง 6% ของปริมาณอ้อยที่ใช้ในการผลิต
 
จากบทความของ ดร. สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์