วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (3)


     เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็น ลำดับ ทั้งในส่วนของการจำหน่ายไปยังกลุ่มผู้ใช้ในประเทศและส่งออกโดยมีรายละเอียด ดังนี้

     กลุ่มผู้ใช้ในประเทศ เนื่องจากกากน้ำตาลประกอบไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆหลายชนิด ส่งผลให้กากน้ำตาลถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตสุราและแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ผลิตผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น รวมการใช้กากน้ำตาลประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้จะใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสุราเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนำกากน้ำตาลมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลเพื่อใช้ ผสมกับน้ำมันเบนซินใช้เป็นพลังงานทดแทนที่เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ จำนวน 4 โรงงานรวมกำลังการผลิตเอทานอลประมาณ 460,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งกากน้ำตาล 1 ตันสามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 260 ลิตร ทำให้ความต้องการกากน้ำตาลของโรงงานเอทานอลอยู่ที่ประมาณ 530,000 ตันต่อปี(คิดจากวันผลิต 300 วัน) รวมเป็นปริมาณการใช้กากน้ำตาลในประเทศประมาณ 1.53 ล้านตัน

     กลุ่มผู้ใช้ต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศต่างๆมีความต้องการกากน้ำตาลเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสุรา อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ รวมทั้งนำไปผลิตเป็นเอทานอลเช่นเดียวกับไทย และเนื่องจากไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายสำคัญของโลก ส่งผลให้ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากบราซิล และออสเตรเลีย

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (2)

กากน้ำตาล(MOLASSES) เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลดังนั้นปริมาณการผลิตกากน้ำตาลของไทยจึงขึ้น อยู่กับปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปี โดยอ้อย 1 ตันจะได้ปริมาณกากน้ำตาลประมาณ 46.8 กิโลกรัม ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/43 ถึงฤดูการผลิตปี 2546/47 ไทยมีปริมาณการผลิตกากน้ำตาลอยู่ที่ระดับเฉลี่ยประมาณปีละ 2.8 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม สำหรับในฤดูการผลิต 2547/48 นี้เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทั่วประเทศทำให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดลงเหลือเพียง 47.8 ล้านตันลดลงร้อยละ 25.8 และส่งผลต่อเนื่องไปถึงปริมาณกากน้ำตาลที่ผลิตได้ในปีนี้มีเพียง 2.26 ล้านตันลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล : ทวีบทบาท…มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ (1)

ปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆประมาณ 1 ล้านตันแล้ว ในขณะเดียวกันไทยยังถือเป็นประเทศผู้ส่งออกกากน้ำตาลรายใหญ่อันดับหนึ่งของ โลกโดยมีการส่งออกกากน้ำตาลไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละประมาณ 1.4-1.5 ล้านตันคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อปีกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

     นอกจากนี้ ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ ในด้านการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นพลังงานทางเลือกที่ เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ซึ่งมีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน95 ถึง ลิตรละ 1.50 บาท อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้อีกด้วย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.53 ล้านตันต่อปี ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะห้ามการส่งออกกากน้ำตาล เพื่อสงวนไว้ใช้ในประเทศภายหลังจากที่ผู้ผลิตเอทานอลเรียกร้องขอปรับราคาเอ ทานอลที่จำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันให้สอดคล้องกับราคากากน้ำตาลที่ปรับตัว สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลมีความเห็นว่าหากควบคุมการส่งออกจะทำให้ ราคากากน้ำตาลปรับตัวลดลงและส่งผลกระทบต่อรายได้ของระบบอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งยังมีภาระหนี้เงินกู้ระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกับสถาบันการเงิน ถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้ประโยชน์ไฮเทสต์โมลาส


ไฮเทสต์โมลาสมีการใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับกากน้ำตาล (black–strap molasses) แต่มีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่า (ปริมาณน้ำตาลร้อยละ 95) และปริมาณเถ้ามีน้อยกว่าจึงสามารถนำไปใช้งานได้กว้างกว่า กล่าวคือ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลักเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ นานาชนิด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ บิวทิลแอลกอฮอล์ ยีสต์ น้ำส้มสายชู กรดอะมิโน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ไฮเทสต์โมลาสจากอ้อย


ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องอ้อยและน้ำตาลมานานแล้ว โดยที่รัฐบาลได้พยายามแก้ไขด้วยการใช้มาตรการต่างๆ หลายอย่าง เช่น การแบ่งปันผล ประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล การขยายปริมาณการส่งออก เป็นต้น ซึ่งในภาวะที่เกิดน้ำตาลล้นตลาดโลก การนำอ้อยส่วนที่เหลือ เกินความต้องการในการผลิตน้ำตาลไปผลิตเป็นไฮเทสต์โมลาส (high test molasses) จะเป็นทางออกทางหนึ่งในการแก้ปัญหา 

ไฮเทสต์โมลาสมีลักษณะเป็นน้ำเชื่อมเข้มข้นที่ผ่านการแปรสภาพด้วยกรดหรือเอนไซม์แล้ว มีสีน้ำตาล และมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลรวม 76.06% เถ้า 2.85% และน้ำ 15.09% 

จาก ดร. ธีรภัทร ศรีนรคุตร 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือโมลาส



น้ำ
ซูโครส
ริดิวซิงชูการ์
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ
เถ้าซัลเฟต
ยางและแป้ง
ขี้ผึ้ง
20.65
36.66
13.00
50.10
15.00
3.43
0.38
ไนโตรเจน
ซิลิกาในรูป SiO2
ฟอสเฟต P2O5
โปแตสเซี่ยม K2O
แคลเซียม CaO
แมกนีเซียม MgO
0.95
0.46
0.12
4.19
1.35
1.12

การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล


การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล
นำเอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน

ขยายต่อได้ทุก 2 เดือน
จะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วย
เอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่
มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน
ฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมาย
ดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วย
ตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน
น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 3 เดือน
จึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้
ยังมีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้